Home » blog » การ ขอ gmp
  • การ ขอ gmp

    screen-shot-2016-11-03-at-5-55-30-pm

     

     

     

     

     

     

     

    ก่อนที่จะขอ การรับรอง GMP ลองมาทำความเข้าใจกันก่อนค่ะว่า GMP คือ อะไรน้า ?

    GMP คือ ?

    G = Good แปลว่าดี
    M = Manufacturing แปลว่า โรงงาน
    P = Practice แปลว่า การปฏิบัติ

    แปลว่า การปฏิบัติที่ดีของโรงงาน ค่ะ ^^ คือมาตรฐานที่ให้โรงงาน อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องดื่ม ช่วยทำตามมาตรฐานที่ดี ตามข้อกำหนดค่ะ

    โดย GMP อาหาร มี 2  แบบ คือ

    1. GMP พื้นฐาน Primary ( กฎหมาย ) และ
    2. GMP Codex ค่ะ

    GMP อย , สาธารณะสุข ( Primary ) เป็น GMP ของเมืองไทยค่ะ โดยกำหนดข้อกำหนดให้เหมาะสมกับโรงงานไทย
    บังคับทำตามกฎหมายค่ะดังนั้นการตรวจ GMP Primary คือ เมื่อขอใบอนุญาติโรงงานต้องได้ GMP กฎหมายค่ะ
    อาจจะเป็น GMP ที่ทำให้ OTOP , SMEs ของไทยได้มาตรฐานขั้นต้นค่ะ

    ** โดยปัจจุบัน กำลังเริ่มถ่ายโอนการตรวจ GMP Primary ให้ CB เอกชน แทนที่เจ้าหน้าที่รัฐค่ะ

    ส่วน GMP Codex คือ GMP ที่นานาชาติยอมรับมากกว่าของไทยค่ะ เวลาที่ต้องส่งออก หรือ ลูกค้าต่างประเทศเรียกร้อง
    ส่วนมากก็เป็น GMP codex ชนิดนี้ค่ะ โดยอาจมีข้อกำหนดที่แตกต่าง และยากขึ้นบ้าง แต่ก็ทำให้ขายได้ราคาขึ้นนะคะ ^^

    ถ้าคุณพร้อม ฉันก็พร้อมไปด้วยกันนน !!

    แล้ว ข้อกำหนด GMP นี่มัน มีอะไรบ้างหล่ะเนี่ย !!!

    1.การผลิตขั้นต้น ดี ?

    หากการผลิตอาหารของเรา มีการใช้วัตถุดิบด้วย เช่น การปลูกพืช สมุนไพร การเลี้ยงสัตว์ การประมง สารเคมี วัตถุดิบในการผลิตต่างๆ มีคุณภาพและปลอดภัย ? มั่นใจว่าเราใช้ของดี ในการผลิต ? เราจะควบคุมเค้าอย่างไรดีค่ะ

    2. สุขลักษณะของอาคารผลิตและสถานที่ตั้ง ดี ?

    สภาพของอาคารผลิตดี ? มีการทรุดตัว? รอยร้าว? สัตว์พาหะ ( นก หนู แมลงสาบ , แมลง ฯ) เข้ามาในโรงงานได้ ? การดูแลรักษาสภาพโรงงานยัง สะอาด สะอ้าน ? เป็นต้นค่ะ

    หากเป็นโรงงานใหม่ มีการป้องกันการปนเปื้อน ( จากเชื้อโรค ) อย่างมีประสิทธิภาพ ?   ประตู 2 ชั้น ? ยาแนว Food grade ? ตัวกรองพัดลม ? คะ

    โดยต้องมีการแยก โซน โซนสุก กับ โซนดิบ ค่า ซึ่งลองดูๆเรื่องการเข้าออกของวัตถุดิบ และ ขยะด้วยนะคะ

    การระบายอากาศต้องดี และ เพียงพอค่ะเพื่อลดเรื่องความชื้น ฝุ่น

    แสงสว่างที่เพียงพอ และปลอดภัย เช่น ใส่ฝาครอบหลอดไฟ หากเกิดแตกแล้วตกสู่อาหารในอาคารผลิต หรือ ขณะขนส่งค่ะ

    3. เครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่สัมผัสอาหาร ดี ?

    ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ ทนทาน แข็งแรง รอยเชื่อมเรียบ ง่ายต่อการทำความสะอาดและไม่ควรใช้ไม้ เพราะง่ายต่อการสะสมของเชื้อโรคค่า

    ภาชนะสำหรับใส่อาหาร น้ำดื่ม สมุนไพร ต้องแยกออกจาก ภาชนะใส่ของเสียอย่างชัดเจน ( แยกสี แยกโซน ) แยกเก็บอุปกรณ์ต่างๆที่ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว ให้เป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนค่ะ

    อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับความร้อนต้องมีการเช็คว่าสามารถปรับเพิ่ม / ลด อุณหภูมิได้ตรง ? และ Thermometer ยังใช้งานได้ดี ?

    4.การควบคุมกระบวนการผลิต ดี ?

    ต้องมีการจัดการที่ดีด้วยนะ 🙂

    – คัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี มีการล้างทำความสะอาด ควรมี First in First out.

    – น้ำแข็งและไอน้ำที่สัมผัสอาหาร ต้องมีคุณภาพมาตรฐาน หากต้องใช้ซ้ำ การควบคุมป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์

    – การผลิต การเก็บรักษา การขนย้าย และ ขนส่งผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการควบคุมค่ะ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความร้อนค่ะ

    – มีการควบคุมสารเคมีหากต้องใช้ในการผลิต ตามกฎหมายค่ะ

    – ต้องมีการเก็บบันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ชนิด และปริมาณการผลิต วัน เดือน ปีที่ผลิต โดยต้องสามารถสอบย้อนกลับได้ตามความเหมาะสมค่า

    5. การสุขาภิบาล ดี ?

    – คุณภาพน้ำที่ใช้ในโรงงานต้องสะอาด ( เช่น ใช้คลอรีน )

    – อ่างล้างมือเพียงพอ มีสบู่ น้ำยาฆ่าเชื้อ รวมถึงอุปกรณ์ทำให้มือแห้ง ?

    – มีการแยกห้องน้ำจากกระบวนการผลิต ? ถูกสุขลักษณะ ? เพียงพอ ?

    – มีมาตรการป้องกันสัตว์พาหะ ? การควบคุมการใช้ยาฆ่าแมลง ?

    – มีการควบคุมขยะ ? มีฝาปิด ? การควบคุมขยะจากการผลิต ? การระบายน้ำทิ้ง น้ำทิ้งจากโซนดิบไม่ปนกับโซนสุก หรือ High care area ควรมีตะแกรงดักเศษอาหาร ป้องกันการอุดตัน และ ดักสัตว์พาหะที่อาจเข้าไปในกระบวนการผลิต

    6. การบำรุงรักษาและทำความสะอาด  ดี ?

    – อาคารผลิตสะอาด ? ทำความสะอาดบ่อย ? แผนบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร และ อุปกรณ์การผลิตเหมาะสม ? มีการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ก่อนสัมผัสอาหาร ?

    – มีการจัดเก็บและควบคุมการใช้สารเคมีในการทำความสะอาดที่ดี เช่น ห้องเก็บสภาพดี มีป้ายระบุชัดเจน ต้องทราบความเข้มข้น อุณหภูมิ ฆ่าเชื้อ เป็นต้นค่ะ

    7. สุขลักษณะส่วนบุคคล ( พนักงาน ที่เกี่ยวข้อง ) ดี ?

    พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ควรดูแลรักษาสุขภาพ และรักษาความสะอาด และรับการฝึกอบรม เพื่อให้เข้าใจการทำงาน หากต้องมีการสัมผัสอาหาร และควรมีการแต่งกายและการทำงานที่เหมาะสม เช่น ไม่ใส่เครื่องประดับ ป้องกัน แผล ป้องกันการไอ จาม เป็นต้นค่ะ

    8. การฝึกอบรม ดี?

    isoezy มีบริการรับเป็นที่ปรึกษาและจัดฝึกอบรม GMP ตามข้อกำหนดนี้เพื่อใหเกิดความตระหนักด้านความปลอดภัยในการผลิตอาหารตามข้อกำหนดนะคะ

    9. การขนส่ง ดี ?

    มีการป้องกันความสะอาดและความเสื่อมสภาพของการขนส่ง ? เช่น ความสะอาดของรถที่ขนส่ง การควบคุมความเย็น ค่ะ

    10. ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ดี ?

    ควรมีการบอกข้อมูลสำคัญของผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภคให้เหมาะสมค่ะ  เช่น เหมาะกับเด็ก 3 ปีขึ้นไป หรือ บอกส่วนผสมการแพ้ เช่น มีถั่วลิสง น้ำหนักสุทธิ ข้อมูลทางโภชนาการ ที่อยู่ผู้ผลิต Lot number เป็นต้นค่ะ

    หากพร้อมแล้วก็สามารถขอการรับรอง GMP ได้ เลยค่ะ

    ระยะเวลาในการทำงานที่ปรึกษา คือ 3-6 เดือน ( 3 เดือนนี่ เร่งด่วนๆๆๆ พิเศษค่ะ )

    สนใจที่ปรึกษา หรือ อบรม คลิ๊ก !