Home » เอกสาร gmp haccp

เอกสาร gmp haccp

 

 

 

 

 

 

 

การจัดทําเอกสาร GMP  ควรประกอบด้วยเรื่อง 

1. ข้อกําหนดเกี่ยวกับสินค้าวัตถุดิบก่อนการผลิต (Primary Production)

-เอกสารระบุ specification วัตถุดิบ ส่วนประกอบและบรรจุภัณฑ์และวิธีการตรวจรับและคัดเลือกเพื่อมั่นใจถึงความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้กับอาหาร

– บันทึกการตรวจสอบและคัดเลือก

– ใบรับรองคุณภาพ หรือประกันคุณภาพ หรือ COA

2. น้ําใช้ในโรงงาน (Water)

– ต้องมีการชี้บ่งที่ชัดเจน แบ่งแยกระหว่างน้ำที่เป็นส่วนผสมของอาหารและน้ำที่ใช้

– ผลตรวจน้ำหรือ น้ำแข็ง ที่ใช้ในการผลิตอาหาร หรือเป็นส่วนประกอบอาหาร ตามมาตรฐานประกาศกระทรวงสาธารณสุข หรือสูง   กว่า ที่ทวนสอบทุก 1 ปี เป็นอย่างน้อย

– ไอน้ำ ที่สัมผัสกับอาหารโดยตรง ต้องทวนสอบน้ำ condensate ตามมาตรฐานน้ำบริโภคด้วย ทั้งนี้ให้รวมถึงน้ำแข็งที่ใช้ในกระบวนการผลิต

3. การควบคุมสัตว์พาหะนําโรค(Pest Control)

– แผนผังจุดดักหนู หรือ ไฟดักแมลง และความถี่ในการตรวจสอบและเฝ้าระวังสัตว์พาหะต่างๆ

– หนังสือสัญญาการกำจัดของบริษัทรับจ้างจากภายนอก โดยระบุความถี่ในการบริการ วิธีการ และบริเวณที่ทำการร่องรอยสัตว์    พาหะด้วย

– รายชื่อสารเคมีหรือเหยื่อที่ใช้กำจัด วิธีการใช้และใบรับรองอนุญาตการใช้

– บันทึกผลการสำรวจ และรายงานผลประสิทธิภาพการควบคุม รวมถึงมาตรการแก้ไขเมื่อเจอร่องรอย

4. การควบคุมแก้วและพลาสติกแข็ง (Glass &Plastics Control)

-แผนผังแสดงจุดที่มีแก้วหรือหลอดไฟ หรือพลาสติกแข็ง

– เอกสารที่ระบุวิธีการควบคุมแก้วหรือพลาสติกแข็ง และวิธีการแก้ไข ในกรณีเกิดความเสียหาย

– บันทึกผลการตรวจสอบสภาพ ตามแผนที่มีการกำหนดความถี่ในการตรวจไว้อย่างชัดเจน

– บันทึกผลการตรวจสอบสภาพและปริมาณการใช้ ในกรณีที่มีการนำเข้าไปใช้ในพื้นที่ผลิต

5. การสอบเทียบเครื่องมืออุปกรณ์(Calibration)

– รายการเครื่องมือที่ต้องสอบเทียบ

– แผนการสอบเทียบเครื่องมือ ที่ระบุความถี่ของการทวนสอบ

– ระบุช่วงของค่าคลาดเลื่อนที่ยอมรับ

– บันทึกผลการสอบเทียบ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในกรณีที่มีการประยุกต์ใช้ HACCP ที่จะต้องมีการทวนสอบ ณ CCP

6. โปรแกรมการทําความสะอาด(Cleaning Program) รวมถึงSwab Test

– บันทึกผลการตรวจสอบความสะอาด

– แผนการทวนสอบสอบ และ ผลการทวนสอบประสิทธิภาพการล้างทำความสะอาด เช่น ผล Swab test , ATP

– แผนการทำความสะอาดและการบำรุงรักษา ที่มีการระบุรายชื่อ วิธีทำความสะอาด และรวมถึงการฆ่าเชื้อด้วยในกรณีที่จำเป็น อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ ความถี่ในการทำและ ผู้รับผิดชอบ

7. สุขลักษณะส่วนบุคคล(Personal Hygiene)

– เอกสารที่ระบุการดำเนินการในกรณีผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับอาหารเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ และบันทึกรายงานผลการปฏิบัติ

– เอกสารที่กำหนดวิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น การล้างมือ การสวมชุดกันเปื้อน ที่คลุมผมและ        รองเท้า และ / หรือความถี่ในการล้างมือระหว่างอยู่ในกระบวนการผลิต

– เอกสารระบุข้อห้ามสำหรับพฤติกรรมส่วนบุคคลที่อาจปนเปื้อนลงสู่อาหารได้

– เอกสารที่ระบุกฎระเบียบสำหรับผู้เยี่ยมชม หรือบุคคลภายนอก

8. การควบคุมกระบวนการผลิต (Control of Operation)

– บันทึกผลการตรวจสอบอุณหภูมิและเวลาในแต่ละกระบวนการผลิต

– เอกสารอ้างอิงข้อกำหนดซึ่งอยู่บนพื้นฐานหลักการทางวิทยาศาสตร์มาตรฐานหรือมาตรฐานหน่วยงานราชการที่อ้างอิง เช่น มอก. , พรบ. Codex stan ต่างๆ

– บันทึกการตรวจสอบ และ วิธีวิเคราะห์

– ผลการทวนสอบผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบตามแผนที่ระบุไว้อย่างน้อย ปีละครั้ง (วัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์สุดท้าย)

9. การบํารุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์(Maintenance)

– แผนการทำความสะอาดและการบำรุงรักษา ที่มีการระบุรายชื่อ วิธีทำความสะอาด และรวมถึงการฆ่าเชื้อด้วยในกรณีที่จำเป็น อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ ความถี่ในการทำและ ผู้รับผิดชอบ

– บันทึกผลการตรวจสอบความสะอาด

– แผนการทวนสอบสอบ และ ผลการทวนสอบประสิทธิภาพการล้างทำความสะอาด เช่น ผล Swab test , ATP

– เอกสารระบุรายชื่อสารเคมีที่ใช้ ที่ต้องควบคุมการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผลิตภัณฑ์

– การรับสารเคมี ต้องมีใบ COA แนบมาในแต่ละ lot ด้วย

10.การควบคุมสารเคมี

– การเบิกสารเคมีไปใช้ ต้องไม่ลืมระบุ lot ที่นำไปใช้ด้วย เพื่อสะดวก ต่อการสอบกลับ หรือรียกคืน

– สถานที่จัดเก็บ ควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ป้องกันการเสื่อมสลาย

– ใบรับรองความปลอดภัย ที่ระบุว่าสามารถใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้ ( Food Grade)

11. การเรียกคืนสินค้า (Recall Procedure)

– เอกสารกำหนดวิธีการระบุข้อมูลผลิตภัณฑ์ เช่น ชื่อผู้ผลิต รุ่นผลิต วันที่ควรบริโภค ข้อมูลสำหรับผู้บริโภค

– การระบุข้อมูลในฉลากตาม Codex STAN 1-1985– standard for labeling of prepackage foods :

– เอกสารที่มีการอธิบายขั้นตอนการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหา รวมถึงปริมาณ, ขั้นตอนการจำหน่าย, และการวางมาตรการควบคุมหรือกักสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ถูกเรียกคืน และผลิตภัณฑ์ที่สงสัยและยังอยู่ในคลังสินค้า

– บันทึกผลการเรียกคืนผลิตภัณฑ์ (กรณีมีเหตุการณ์เกิดขึ้น)

– เอกสารที่ใช้เป็นข้อมูลสอบกลับ

12. การชี้บ่ง (Identification)

-เอกสารชี้บ่งถึง  การรับวัตถุดิบ การบรรจุ การผลิต  และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

13. การจัดการขยะ(Waste Management)

-แผนผังที่ระบุเส้นทางการลำเลียงขยะออกนอกพื้นที่การผลิต และความถี่ในการกำจัด

14. การตรวจรับวัตถุดิบ (Incoming Inspection)

เอกสารระบุ specification วัตถุดิบ ส่วนประกอบและบรรจุภัณฑ์และวิธีการตรวจรับและคัดเลือกเพื่อมั่นใจถึงความปลอดภัยเมื่อนำมาใช้กับอาหาร

– บันทึกการตรวจสอบและคัดเลือก

– ใบรับรองคุณภาพ หรือประกันคุณภาพ หรือ COA

15. การจัดเก็บ (Storage)

16. การจัดส่ง (Transportation)

แผนการทำความสะอาด และการบำรุงรักษารถขนส่ง

– บันทึกการตรวจสอบความสะอาด ก่อนการนำสินค้าขึ้นรถขนส่ง

– บันทึกการตรวจสอบอุณหภูมิรถขนส่ง ในกรณีที่ต้องควบคุมอุณหภูมิระหว่างการขนส่งไปยังลูกค้า

17. การป้องกันการปนเปื้อนข้าม (Cross Contamination)

-บันทึการตวรจเช็ค เครื่องจักร์ อุปกรณ์ ภาชนะ และการแต่งกาย

18. การฝึกอบรม (Training)

– แผนการฝึกอบรม และการฝึกอบรมเพื่อฟื้นฟูความรู้

– บันทึกการประเมินผลหลังฝึกอบรม

19  การควบคุมเอกสารและบันทึก 

– เอกสารบันทึกผลการตรวจสอบในกระบวนการผลิต

–  บันทึกการจำหน่าย

– เอกสารกฎหมายและข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการระบุอายุการจัดเก็บที่เกินอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์

การจัดทําเอกสาร HACCP   ควรประกอบด้วยเรื่อง 

ขั้นตอนที่ 1 การจัดตั้งทีมงาน HACCP

-จัดทำเอกสารเอกสารแต่งตั้งทีมงาน HACCP

  • ต้องทำหน้าที่ควบคุมขอบข่าย และการใช้ระบบ HACCP ให้บรรลุผลในทางปฏิบัติ
  • เข้าร่วมและทำหน้าที่ประธานที่ประชุมกลุ่ม
  • ตรวจสอบ ติดตามระบบเอกสาร และการบันทึกผล
  • ตรวจสอบติดตามโปรแกรมการตรวจประเมินระบบคุณภาพภายใน (internal audit schedule)

ขั้นตอนที่ 2 การอธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์  (Product  Description)

การอธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์ และ วัตถุประสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์

  • ชื่อผลิตภัณฑ์
  • คุณลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์สุดท้าย : เพื่อแสดงรายละเอียดผลิตภัณฑ์ทางด้านเคมี, ขนาดบรรจุ
  • วิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ :  เพื่อแสดงว่าพร้อมบริโภค
  • ภาชนะผลิตภัณฑ์ :  เพื่อแสดงชนิดของภาชนะบรรจุ, ขนาดบรรจุ
  • อายุผลิตภัณฑ์ :  แสดงอายุของผลิตภัณฑ์ที่ยังอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการบริโภค
  • สถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ และกลุ่มผู้บริโภค :  แสดงจุดที่จำหน่าย เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินสถานการณ์หากพบปัญหาของผลิตภัณฑ์  และเพื่อเป็นการแสดงว่าผลิตภัณฑ์เหมาะสมหรือมีความปลอดภัยกับผู้บริโภคกลุ่มใดบ้าง
  • การระบุฉลาก :  แสดงข้อมูลที่จำเป็นที่ผู้บริโภคควรทราบ เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ตามลักษณะการบรรจุ, คุณค่าทาง โภชนาการ, โค๊ตะวันที่ผลิต,ล็อต
  • วิธีการเฉพาะเพื่อควบคุมการกระจายสินค้า :  แสดงวิธีการเฉพาะที่จำเป็นต้องทำ เพื่อควบคุมสภาวะการขนส่งสินค้า

ขั้นตอนที่ 3 การชี้หาวัตถุประสงค์ในการใช้ผลิตภัณฑ์ (Indentify indended Use)

  •  แสดงวิธีการใช้ และ กลุ่มผู้บริโภค ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ  ผู้บริโภคทั่วไป

ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต

  • ส่วนผสมทุกชนิดและภาชนะบรรจุหีบห่อ
  • เขียนแผนภูมิตามลำดับการปฏิบัติจริง รวมขั้นตอนการรับเข้าวัตถุดิบ
  • บันทึกข้อมูลเวลา/อุณหภูมิของวัตถุดิบทุกชนิด ผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิต และผลิตภัณฑ์สำเร็จ รวมถึงโอกาสของการล่าช้า
  • อธิบายเส้นทางการนำผลิตภัณฑ์ไปแปรรูปหรือนำกลับมาผลิตใหม่
  • โครงสร้างของเครื่องมืออุปกรณ์

ขั้นตอนที่ 5 การตรวจสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิต

โดยการตรวจสอบเปรียบเทียบแผนภูมิกับการปฏิบัติจริง  เพื่อยืนยันความถูกต้องโดยตรวจสอบครอบคลุมถึงจุดที่มีการนำมาใช้ของวัตถุดิบและภาชนะบรรจุด้วย ในระหว่างการตรวจสอบ ทีมงาน HACCP อาจทำการปรับเปลี่ยนแผนภูมิการผลิตให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิตจริง

ขั้นตอนที่ 6 ระบุอันตรายทุกชนิดที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิต

ทำการ วิเคราะห์อันตรายและพิจารณาหามาตรการในการควบคุมอันตรายที่ตรวจพบ

ขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์อันตราย คือ การระบุอันตรายที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิต โดยเริ่มตั้งแต่วัตถุดิบจนถึง ขั้นตอนสุดท้าย และทำการพิจารณาให้ครอบคลุมอันตรายทั้ง 3 ประการ ได้แก่

  • อันตรายทางชีวภาพ
  • อันตรายจากสารเคมี
  • อันตรายทางกายภาพ

ขั้้นตอนที่ 7 การหาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม(Determine Critical Control Points)

การตัดสินว่าขั้นตอนใดในกระบวนการผลิต เป็นขั้นตอนสำคัญหรือเป็นจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม สามารถจะดำเนินการได้โดยการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ หรือการใช้หลักการของ decision tree ซึ่งเป็นคำถาม 4 คำถาม

ขั้นตอนที่ 8 การกำหนดค่าวิกฤต(Establish Critical Limit)

การกำหนดแผนการการตรวจติดตาม โดยแผนการตรวจติดตามจะครอบคลุมถึง

  • อะไรที่จะทำการตรวจติดตาม
  • วิธีการติดตาม ค่าวิกฤตและมาตรการควบคุม
  • ความถี่ของการตรวจติดตาม
  • ผู้ตรวจติดตาม

ขั้นตอนที่  9   การกำหนดการเฝ้าระวัง (Establish A  Monitoring System of Each CCP)

เพื่อยืนยันว่ามีการปฏิบัติการปฏิบัติการควบคุมตามมาตรการต่างๆ ที่ระบุไว้ในแผนอย่างครบถ้วน ถูกต้องตามรายการละเอียดทุกประการฃ

  • การตรวจสอบความถูกต้องของแผนระบบ
  • การตรวจประเมินระบบ
  • การสุ่มตัวอย่างและการทดสอบ

ขั้นตอนที่ 10 การกำหนดวิธีการแก้ไข (Establish  the Corrective  Action)

อ้างอิงเอกสาร ขั้นตอนที่ ที่ 9

 ขั้นตอนที่ 11 การกำหนดวิธีการทวนสอบ  (Establish Verification  Procedures)

  • การทวนสอบการปฏิบัติตามระบบ HACCP
  • แผนการทวนสอบ

ขั้นตอนที่ 12 การกำหนดวิธีการจัดการเอกสารและจัดเก็บข้อมูล  (Establish Record Keeping and Documentation)   

  •  เอกสาร  ขั้นตอนการปฏิบัติงานเรื่อง การควบคุมเอกสารและบันทึก      
สนใจที่ปรึกษา gmp haccp คลิ๊ก!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *