Home » ขั้นตอนการ ขออนุญาตผลิตอาหาร

ขั้นตอนการ ขออนุญาตผลิตอาหาร

ขั้นตอนการ ขออนุญาตผลิตอาหาร

ขั้นตอนการ ขออนุญาตผลิตอาหาร

มีคุณลูกค้าหลายท่านแนะนำมาว่าควรมีบริการ ช่วยขออนุญาตการตั้งโรงงาน สักที จะได้ครบวงจร 5555 โดยเราเริ่มในบริการนี้แล้วค่ะ ก่อนที่เราจะได้อาหารแสนอร่อยและแน่นอน ต้องสะอาดปลอดภัยนั้น เราต้องสร้างโรงงานก่อนใช่มั้ยค่ะ แต่ก่อนสร้างโรงงานต้องขออนุญาตการตั้งโรงงาน กันเสียก่อนค่ะ บทความนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อ ท่านผู้ประกอบการนะคะ

โดยการเตรียมการมี 4 ขั้นตอนค่ะ ดังนี้คือ

1 . เอกสารในการขออนุญาต

2.  แบบแปลนของโรงงาน

3.  การจัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหาร

4. อายุของในอนุญาต

เอกสารที่ขออนุญาตผลิตอาหาร ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ที่ต้องจัดเตรียม

1. คำขออนุญาติจัดตั้งโรงงาน ตามแบบ  อ  1 จำนวน 1 ฉบับ

2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต  จำนวน 1 ฉบับ

3. สำเนาใบทะเบียนการค้าหรือใบทะเบียนพาณิชย์  จำนวน 1 ฉบับ

4. แบบแปลนแผนผัง ที่ถูกต้องตามมาตราส่วน จำนวน   1  ชุด (ยกเว้นสถานที่ผลิตอยู่ต่างจังหวัดใช้  2 ชุด)

4.1 แผนที่แสดงที่ตั้งโรงงานและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ใกล้เคียง

4.2 แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณที่ดินภายในโรงงาน รวมทั้งระบบการกำจัดน้ำเสียและบ่อบาดาล(ถ้ามี)

สำหรับนิติบุคคล 

  1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน นิติบุคคล  จำนวน 1 ฉบับ
  2. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น  จำนวน 1 ฉบับ  (เฉพาะนิติบุคคลที่เป็นบริษัท)
  3. หนังสือมอบอำนาจจำนวน 1  ฉบับ ติดอากร แสตมป์ 30 บาท                                                อาจต้องประทับตราบริษัทด้วย กรณีที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง  การจดทะเบียนเป็นอันเสร็จพิธีเรื่องของเอกสาร

แบบแปลนของโรงงาน 

  • ต้องแสดงรูปด้านหน้า
  • ด้านข้าง
  • รูปตัดของอาคารที่ใช้ในการผลิต
  • ชนิดของวัสดุก่อสร้าง หากเป็นบ้านที่อยู่อาศัยดัดแปลง

ประตูเข้าออกต้องแยกกัน ห้ามมีผู้อาศัยหรือสัตว์เลี้ยงอยู่ในส่วนของการผลิต                                                                                                                                                                           

การแบ่งกันห้องหรือเนื้อที่ ให้แยกเป็นสัดส่วนนะคะ โดยในการผลิตอาหาร แต่ละประเภท
ให้เป็นไปตามสายงานการผลิต เพื่อใช้สำหรับ 

  • การเก็บ วัตถุดิบ  การเตรียม การปรุง
  • การฆ่าเชื้อ หรือวิธีการอื่นๆ เช่น การผ่านความร้อน การแช่แข็ง แช่เย็น หรือทำให้แห้ง แล้วแต่กรณี
  • บรรจุ และปิดฉลาก
  • ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ หรือภาชนะ
  • จัดเก็บภาชนะหรืออุปกรณ์ก่อนและหลังใช้
  • การเก็บสารเคมีหรือวัตถุมีพิษ
  • อื่นๆ เช่นถังหรือบ่อเก็บน้ำที่ใช้การผลิตและห้องเก็บน้ำแข็งเป็นต้น
  • แสดงรายละเอียดของเครื่องจักรพร้อมลายละเอียด เช่น ชนิดของแรงม้าเครื่องจักร  กำลังวัตต์ ขนาดและแบบของเตา  ขนาดของห้องเผา ชนิดของเชื้อเพลิงและปริมาณที่ใช้และอื่นๆ หรือแสดงรูปประกอบด้วยก็ได้
  • ระดับของพื้นที่อาคารผลิตอาหาร และห้องผลิตอาหารต้องเป็นพื้นที่ลาดเอียงเพื่อทางระบายน้ำที่ดีและสะดวกในการทำความสะอาด
  • ระบบกำจัดน้ำเสียและของเสีย ถ้าเป็นโรงงานใหญ่ต้องมีระบบกำจัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกระทรวงอุตสหกรรม  ถ้าเป็นบ้านที่ดัดแปลงมาทำจะต้องมีการกักเก็บน้ำเสียก่อนระบายทิ้ง
  • การเก็บขยะมูลฝอยไม่ควรใช้ถังใหญ่ เพราะการเก็บไว้นานจะทำให้เน่าบูดและเชื้อโรคควรใช้ถังเล็ก เพื่อการกำจัดทิ้งได้บ่อยๆ
  • น้ำใช้ ต้องเป็นน้ำที่สะอาดได้มาตรฐานการบริโภค ถ้าใช้น้ำบาดาลต้องมีการกรองให้สะอาดก่อนนำมาใช้ และถึงแม้ว่าไม่ได้นำน้ำบาดาลมาใช้ดื่มก็ควรกรองให้สะอาดด้วยเช่นกัน
  • การปรับคุณภาพน้ำต้องเหมาะสม และควรคำนึงถึงคุณภาพของแหล่งน้ำเพื่อติดตั้งเครื่องและอุปกรณ์ ในการฆ่าเชื้อเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถขจัดสิ่งปนเปื้อนทางกายภาพเคมีและจุลินทรีย์ที่มีอยู่ให้อยู่ในรดับที่  กฏหมายกำหนด
  • เครื่องมือและอุปกรณ์ในการผลิต  ต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์เพียงพอและเหมาะสมกับการผลิต ภาชนะที่ใช้สำผัสกับอาหารต้องได้มาตรฐาน มอก .  ต้องมีโต๊ะสำหรับทำงาน โดยมีลักษณะคือ  เหมาะสมกับงานที่ทำ ทำความสะอาดง่าย พื้นโต๊ะต้องทำด้วยโลหะไม่เป็นสนิม มีความสูงไม่น้อยกว่า  60 เซนติเมตร ภาชนะบรรจุต้องทำจากวัสดุไม่เป็นพิษ มีการทำความสะอาดก่อนนำมาบรรจุ
  • ภาชนะบรรจุที่นำมาใช้ได้หลายครั้ง จะต้อง มีบริเวณเก็บแยกเป็นสัดส่วน   ทำความสะอาดพื้นผิวด้านนอกและฝาด้วยน้ำสะอาด  ต้องตรวจสอบการปนเปื้อนทางด้านจุลินทรีย์  ล้างแล้วควรนำไปบรรจุแล้วปิดฝาทันที  ไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนขึ้นอีก
  • สารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาด ทั้งภาชนะบรรจุและพื้นที่นั้นจะต้องมีข้อชี้บ่งในการใช้
  • พื้นที่โดยรอบอาคารผลิตต้องสะอาด ไม่รกหรือสกปรกและไม่อยู่ใกล้สถานที่น่ารังเกียจ
  • ห้องน้ำต้องเพียงพอสำหรับห้องชายและห้องหญิง และอ่างล้างมือ สบูเหลว และกระดาษและผ้าเช็ดมือ
  • ท่อและทางระบายน้ำต้องสามารถระบายได้ทำความสะอาดได้
  • แสดงกรรมวิธีผลิตอาหารโดยละเอียด สัดส่วนของอาหารควรระบุร้อยละ ของน้ำหนัก ประเภทแลปริมาณการผลิต ที่มาของน้ำในการผลิต ต้องมีการต้องมีการปรับสภาพน้ำหรือมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำ
  • เสียง กลิ่น ควัน ต้องไม่รบกวนผู้อื่น
  • ระบบแสงสว่าง การถ่ายเทอากาศได้เพียงพอ  ผนังเรียบทำความสะอาดง่าย พื้นต้องแข็งแรง ทำความสะอาดง่าย
  • ในการผลิตก่อนการผลิตจะต้องจัดให้มีการล้างมือก่อนการผลิต ใสถุงมือ เปลี่ยนชุด สวมหมวก ห้ามใส่เครื่องประดับ ห้ามทาเล็บ
  • มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงาน ผู้ไม่เกี่ยวข้องไม่อยู่ในพื้นที่ผลิต

เมื่อได้รับในอนุญาต มีอายุอยู่ได้  3 ปี  ในระหว่างนี้จะต้องดูแลสถานที่กระบวนการผลิต อุปกรณ์ เครื่องมือให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม พร้อมให้การตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ ตลอดเวลาค่ะ

isoezy สามารถช่วยท่านผู้ประกอบการ ยื่นขออนุญาติตั้งโรงงานอาหารด้วยนะคะ

สนใจที่ปรึกษาโรงงาน gmp คลิ๊ก!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *